พื้นที่โฆษณา

วิศวะลาดกระบัง เดินหน้าพัฒนาหลักสูตร IoT และ IT ปั้นบุคลากรทักษะสูงตอบโจทย์อุตสาหกรรมในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ - PR News

แชร์หน้านี้

  • 15 มี.ค. 68
  • 54.9K
พื้นที่โฆษณา

วิศวะลาดกระบัง เดินหน้าพัฒนาหลักสูตร IoT และ IT ปั้นบุคลากรทักษะสูงตอบโจทย์อุตสาหกรรมในอนาคต

ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเปลี่ยนแปลงโลกอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมทั่วโลก ช่วยให้การผลิตและการดำเนินงานในหลากหลายอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลดต้นทุน สามารถเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในหลายภาคส่วน เช่น ระบบโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory), เมืองอัจฉริยะ (Smart City), การแพทย์อัจฉริยะ (Smart Healthcare), ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) นอกจากนี้ยังช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุค Industry 4.0 ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของภาคอุตสาหกรรม โดยการนำ IoT, AI, Big Data, Digital และ Cloud Computing มาช่วยเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยให้สามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกได้ แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการเตรียมความพร้อมสำหรับ Industry 5.0 ซึ่งเน้นการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรอัจฉริยะ ภายใต้แนวคิด Human-Centric Technology โดยใช้ AI และ IoT เป็นเครื่องมือเสริมศักยภาพแรงงาน แทนที่จะเข้ามาแทนที่ทั้งหมด Industry 5.0 ยังเน้นเรื่อง Sustainability และ Green Technology เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างเศรษฐกิจที่สมดุลและยั่งยืน

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของ IoT ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ พร้อมเดินหน้าพัฒนาหลักสูตรและสร้างความร่วมมือเชิงลึกเพื่อปั้นบุคลากรที่มีทักษะสูงให้พร้อมสำหรับตลาดแรงงานและการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมไทยสู่ Industry 4.0 และเตรียมพร้อมสำหรับ Industry 5.0 ด้วยแนวคิดที่ให้เทคโนโลยีอัจฉริยะมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง จึงได้พัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ (IoT and Information Systems Engineering) เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการรองรับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต หลักสูตรนี้มีการเปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยเน้นการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างทฤษฎีและปฏิบัติ พร้อมทั้งมีความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกงานและทำวิจัยที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

นอกจากหลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศแล้ว คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ยังมีหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และระบบวัดคุม, วิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ, วิศวกรรมออโตเมชัน, วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และความปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งแต่ละหลักสูตรล้วนมีองค์ประกอบสำคัญคือ IoT และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นการผลิตบุคลากรที่สามารถพัฒนาโซลูชันและนวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมในอนาคต โดยที่ผ่านมาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. มีความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในด้าน IoT และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องหลายโครงการ อาทิ ความร่วมมือกับ สำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อพัฒนา มาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และระบบเชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัล ซึ่งเป็นการวางรากฐานสำหรับระบบศาลดิจิทัลที่ปลอดภัย โครงการความร่วมมือกับ กองพันปฏิบัติการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ กรมสื่อสาร กองบัญชาการกองทัพไทย ในการพัฒนา AI วิเคราะห์ข้อมูลสัญญาณเคลื่อนวิทยุ เพื่อคาดการณ์ภัยคุกคามด้านความมั่นคงของชาติ ความร่วมมือกับบริษัทชั้นนำอื่นๆ เช่น Oracle Thailand ที่สนับสนุนการอบรม Oracle Database 23AI, Intelligist Co., Ltd. ที่บริจาคเซิร์ฟเวอร์มูลค่ากว่า 2 ล้านบาทเพื่อสนับสนุน AI Security Lab, และ Symphony Communication ที่บริจาคอุปกรณ์เครือข่ายรวมมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการ Work-Integrated Learning (WiL) ซึ่งเป็นความร่วมมือกับ กสิกร บิสิเน็สเทคโนโลยีกรุ๊ป และ Swift Dynamics Co., Ltd. รวมถึงบริษัทอื่นๆ ที่มีความร่วมมือทางวิชาการกับทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกงานจริง ได้รับทุนการศึกษา และมีโอกาสเข้าทำงานในภาคอุตสาหกรรมหลังสำเร็จการศึกษา

ด้วยหลักสูตรที่ทันสมัยและการพัฒนาทักษะของนักศึกษาให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมจริง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ได้กลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาบุคลากรด้าน IoT, AI, Cybersecurity และ Smart Technology ในประเทศไทย ความร่วมมือกับภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมช่วยให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงและสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้หลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ (IoT and Information Systems Engineering) และหลักสูตรอื่นๆ ของ สจล. เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและติดอยู่ในอันดับ Top 10 คณะที่มีอัตราการแข่งขันสูงในการคัดเลือก TCAS 2567

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาหลักสูตรเพื่อเตรียมพร้อมบุคลากรที่เชี่ยวชาญสู่ตลาดอุตสาหกรรม พร้อมกับการก้าวสู่ผู้นำด้านการศึกษาและวิจัยทางด้าน IoT และ IT ที่ช่วยให้ประเทศไทยสามารถเดินหน้าสู่อนาคตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ...

ประธานหลักสูตร รศ.ดร.บุณย์ชนะ ภู่ระหงษ์ : boonchana.pu@kmitl.ac.th

https://www.facebook.com/KMITL.ITE

Email : iote@kmitl.ac.th

https://www.iote.kmitl.ac.th/

ประชาสัมพันธ์โดย : PIMDAWAN
วันที่ลงข่าว : 15-03-68

พื้นที่โฆษณา
ชอบหน้านี้?

แสดงความคิดเห็น

พื้นที่โฆษณา
พื้นที่โฆษณา
เว็บไซต์ ตรวจหวย ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล LotteryThai.in.th ขอแสดงความยินดี กับท่านผู้โชคดีที่ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล (ตรวจหวย) ผ่านเว็บไซต์ของเราแล้วถูกรางวัล แต่หากท่านใดที่ไม่ถูกรางวัล อย่าได้เสียใจไป งวดหน้ายังมีโอกาสให้ลุ้นอีก ก็ถือว่าเป็นการช่วยเหลือสังคมในการพัฒนาทางด้านต่างๆ

ข้อมูลผลรางวัลบนเว็บไซต์ของเรานั้นมีความถูกต้อง แต่ความผิดพลาดก็อาจเกิดขึ้นได้ ภายใต้สภาพแวดล้อมของการให้บริการและการใช้งานผ่านระบบ Internet ดังนั้นเพื่อให้ผลการตรวจสอบที่ถูกต้องขอให้ท่านทำการตรวจสอบข้อมูลที่สมบูรณ์จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอีกครั้ง ตรวจหวย หรือ ดูเรียงเบอร์ (ใบตรวจหวย)

**เว็บไซต์แห่งนี้มีจุดประสงค์เพื่อการตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาลเท่านั้น มิได้มีการขายหรือจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเองแต่อย่างใด**