พื้นที่โฆษณา

วิศวะมหิดล - ก.อุตสาหกรรม สรุปผลโครงการพลิกธุรกิจ SMEs ไทย สู่การผลิตสมัยใหม่ 4.0 เขตพื้นที่ 2

ข่าวประชาสัมพันธ์ - PR News

แชร์หน้านี้

  • 27 ธ.ค. 65
  • 8.7K
พื้นที่โฆษณา

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผนึกความร่วมมือกับ กระทรวงอุตสาหกรรม จัดงานสัมมนาสรุปผลโครงการพลิกธุรกิจ SMEs ไทย...สู่การผลิตสมัยใหม่ 4.0 เขตพื้นที่ 2 ซึ่งมุ่งผลักดันให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทยให้เข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลหุ่นยนต์-ระบบอัตโนมัติ และพัฒนาบุคลกรภายในสถานประกอบการให้มีทักษะที่จำเป็น เผยการให้คำปรึกษาและทำแผนศึกษาความเป็นไปได้ จะยกระดับผลิตภาพ SMEs เพิ่มขึ้น 40% คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 250 ล้านบาท ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์

รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol Engineering) กล่าวถึง เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ว่า การยกระดับพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเครื่องจักร ระบบคอนโทรล ต่างๆ ยังมีอีกส่วนที่สำคัญ คือการคัดสรรเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาและสนับสนุนการดำเนินงานเอสเอ็มอีได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น Big Data, AI, Cloud Computing, 3D Printing, ระบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์ (Robotics) ซึ่ง 80% เป็นหุ่นยนต์สำหรับอุตสาหกรรม (Industrial Robotics) ปัจจุบันระบบนิเวศอุตสาหกรรมของไทยมีความพร้อมมากขึ้น และการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ร่วมกับอุตสาหกรรมนั้นมีราคาถูกลง สามารถตอบโจทย์และพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ตรงความต้องการของตลาด เพิ่มประสิทธิภาพและกำลังการผลิต ประหยัดพลังงาน ช่วยลดต้นทุนในยุคที่แรงงานมีทักษะขาดแคลน

โครงการพลิกธุรกิจ SMEs ไทย...สู่การผลิตสมัยใหม่ 4.0 นับเป็นการขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ สำหรับบทบาทของ หุ่นยนต์ เข้ามาช่วยทำงานร่วมกับคนในภาระงานหนักหรืองานทำซ้ำ ช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น สะดวกและแม่นยำ ด้วยระบบต่างๆ อาทิ ระบบควบคุมคอนโทรลเส้นทาง ระบบเซนเซอร์ เป็นต้น อีกทั้งเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมและประเทศไทยด้วย ยกตัวอย่างเช่น ศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์(BART LAB)ที่ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลในเครือมหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด และอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ที่มีความชำนาญสูง และส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศ

ดร.ทรงพล องค์วัฒนกุล หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์ (BART LAB) ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol Engineering) กล่าวว่า ผลการดำเนินโครงการพลิกธุรกิจ SMEs ไทย สู่การผลิตสมัยใหม่ 4.0 พื้นที่ 2 ช่วยยกระดับความก้าวหน้าของเอสเอ็มอีไทยในเขตพื้นที่ 2 ซึ่งครอบคลุม 36 จังหวัด โดยทีมงานวิศวะมหิดลได้ลงพื้นที่สำรวจโรงงานและจัดฝึกอบรม ผู้เชี่ยวชาญช่วยวิเคราะห์ วางแผนและให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหา โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 65 ราย จากการให้คำปรึกษาและทำแผนศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุน (Feasibility Study) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ คาดว่าในอนาคตผู้ประกอบการจะมีผลิตภาพเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 40 % หรือคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 250 ล้านบาท

ทั้งนี้โครงการฯ ได้คัดเลือก 5 บริษัทเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาของเอสเอ็มอี (SMEs) ได้แก่ บจก. ดับบลิว.ไอ.พี. อีเล็คทริค ผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและหลอดไฟ จ.ปทุมธานี บจก. ยูเนี่ยน แอพพลาย ผู้ผลิตกระบอกไฮดรอลิก จ.ปทุมธานี บจก. ไทยฟอร์โมซาพลาสติกอินดัสทรี ผู้ผลิตสินค้าสิ่งทอพลาสติก จ.นครปฐม บจก. ภัทรอุตสาหกรรม ผู้ผลิตตู้ไฟฟ้าและสวิทช์บอร์ด จ.นนทบุรี บจก. แอ๊ดวานซ์ แมททีเรียล ซัพพลาย ผู้ผลิตเครื่องเคลือบดินเผาและเซรามิก จ.ลำปาง

พื้นที่โฆษณา
ชอบหน้านี้?

แสดงความคิดเห็น

พื้นที่โฆษณา
พื้นที่โฆษณา
เว็บไซต์ ตรวจหวย ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล LotteryThai.in.th ขอแสดงความยินดี กับท่านผู้โชคดีที่ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล (ตรวจหวย) ผ่านเว็บไซต์ของเราแล้วถูกรางวัล แต่หากท่านใดที่ไม่ถูกรางวัล อย่าได้เสียใจไป งวดหน้ายังมีโอกาสให้ลุ้นอีก ก็ถือว่าเป็นการช่วยเหลือสังคมในการพัฒนาทางด้านต่างๆ

ข้อมูลผลรางวัลบนเว็บไซต์ของเรานั้นมีความถูกต้อง แต่ความผิดพลาดก็อาจเกิดขึ้นได้ ภายใต้สภาพแวดล้อมของการให้บริการและการใช้งานผ่านระบบ Internet ดังนั้นเพื่อให้ผลการตรวจสอบที่ถูกต้องขอให้ท่านทำการตรวจสอบข้อมูลที่สมบูรณ์จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอีกครั้ง ตรวจหวย หรือ ดูเรียงเบอร์ (ใบตรวจหวย)

**เว็บไซต์แห่งนี้มีจุดประสงค์เพื่อการตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาลเท่านั้น มิได้มีการขายหรือจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเองแต่อย่างใด**