KTAM กระตุ้นลงทุนลดหย่อนภาษีโค้งสุดท้ายปี 2565 คัดสรรกองเด่น รองรับทุกสถานการณ์
นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปี 2565 เป็นอีกปีที่ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนเป็นอย่างมาก แต่นักลงทุนที่ยังต้องลงทุนในกองทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีก็ยังคงต้องลงทุนอย่างมีวินัยอย่างต่อเนื่อง จึงได้แนะนำนักลงทุนที่ต้องการลงทุนเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในโค้งสุดท้ายของปี กับ 3 กลุ่มกองทุน ได้แก่ กลุ่มกองทุนตราสารหนี้ กลุ่มกองทุนหุ้นไทย และกลุ่มกองทุนหุ้นต่างประเทศ
สำหรับ กลุ่มกองทุนตราสารหนี้ เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการพักเงินเพื่อรอจับจังหวะในการลงทุน หรือไม่ต้องการรับความเสี่ยงมากนัก พร้อมทั้งรองรับกับสถานการณ์ในช่วงดอกเบี้ยที่ทยอยปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต แนะนำ กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF2) (กองทุนระดับความเสี่ยง 4) เน้นลงทุนในตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ หุ้นกู้ และตราสารหนี้อื่น ๆ รวมทั้งเงินฝากโดยจะปรับสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้แต่ละประเภทข้างต้นให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา ส่วนกองทุนชนิดเพื่อการออมแนะนำ กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ พลัส (ชนิดเพื่อการออม) (KTFIXPLUS-SSF) (กองทุนระดับความเสี่ยง 4) เน้นลงทุนในตราสารหนี้ทั้งใน และ/หรือต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน และกองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน
ส่วนกลุ่มกองทุนหุ้นไทย แนะนำ กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นที่มีการจ่ายปันผลดี ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงไทย หุ้นไฮดิวิเดนด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ (KT-HiDiV RMF) (กองทุนระดับความเสี่ยง 6) เน้นลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนใน SET ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีประวัติการจ่ายปันผลที่ดี สม่ำเสมอ และ/หรือมีศักยภาพในการจ่ายเงินปันผลในอนาคต กองทุนชนิดเพื่อการออมแนะนำกองทุนที่เน้นลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยที่มี ESG ที่ดี ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงไทย ก่อการดี ชนิดเพื่อการออม (KT-ESGS-SSF) (กองทุนระดับความเสี่ยง 6) เน้นลงทุนในหุ้นไทยเป็นหลัก โดยจะใช้กลยุทธ์การบริหารกองทุนเชิงรับ (ตามดัชนีผลตอบแทนรวม อีเอสจี ไทยพัฒน์ (Thaipat ESG Index (TR)) โดยกองทุนจะเน้นลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
กลุ่มกองทุนหุ้นต่างประเทศ แนะนำ กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ อิควิตี้ เพื่อการเลี้ยงชีพ (KT-WEQRMF) (กองทุนระดับความเสี่ยง 6) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน AB Low Volatility Equity Portfolio Class I (USD) (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV โดยกองทุนหลักมีวัตถุประสงค์ คือ ลงทุนในหุ้นทั่วโลกที่มีปัจจัยพื้นฐาน มีความผันผวนตํ่า และมีความเสี่ยงในการปรับตัวลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตในระดับที่ตํ่า กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เฮลธ์แคร์ ฟันด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ (KT-HEALTHC RMF) (กองทุนระดับความเสี่ยง 7) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Janus Henderson Global Life Sciences Fund (Master Fund) ซึ่งเป็นกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนทั่วไป (Retail Fund) เพียงกองเดียวโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต (Life Sciences) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาหรือการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงบริการทางการแพทย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อสังคมผู้สูงวัยในอนาคต ทำให้ธีมการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้เหมาะสมกับการลงทุนในระยะยาวได้เป็นอย่างดี
กองทุนเปิดเคแทม Global Sustainable Growth Equity (ชนิดเพื่อการออม) (KT-GESG-SSF) (กองทุนระดับความเสี่ยง 6) เน้นลงทุนใน Schroder International Selection Fund Global Sustainable Growth (กองทุนหลัก) ซึ่งมีนโยบายบริหารแบบเชิงรุก (Active Management) โดยเน้นลงทุนในหุ้นทั่วโลกที่มีหลักธรรมาภิบาลที่ดี และ กองทุนเปิดเคแทม ยูเอส โกรท อิควิตี้ ฟันด์ (ชนิดเพื่อการออม) (KT-US-SSF) (กองทุนระดับความเสี่ยง 6) กองทุนเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน AB AMERICAN Growth Portfolio (กองทุนหลัก) เพียงกองเดียว โดยกองทุนหลักจะเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทในสหรัฐฯ ที่มีขนาดใหญ่ มีแนวโน้มในการเติบโตดี มีคุณภาพสูง
นางชวินดา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในกลุ่มกองทุนหุ้นต่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย จีน และเวียดนาม ก็เป็นโอกาสที่ดีสำหรับการลงทุนในระยะยาว ที่ไม่ได้เผชิญกับแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้ออย่างรุนแรงเหมือนในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว จึงแนะนำ กองทุนเปิดเคแทม ไชน่า เอแชร์ อิควิตี้ เพื่อการเลี้ยงชีพ (KT-Ashares RMF) (กองทุนระดับความเสี่ยง 6) เน้นลงทุนในหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ (หุ้นจีน A-Shares) ผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Allianz Global Investors Fund - Allianz China A-Shares (กองทุนหลัก) ในส่วนของกองทุนชนิดเพื่อการออม แนะนำ กองทุนเปิดเคแทม เอเชีย โกรท อิควิตี้ ฟันด์ ชนิดเพื่อการออม (KT-ASIAG-SSF) (กองทุนระดับความเสี่ยง 6) เน้นลงทุนในบริษัทที่มีการเติบโตสูงและมีคุณภาพดี ทั่วภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) ผ่านกองทุน JPMorgan Funds – Asia Growth Fund (กองทุนหลัก)
นอกจากนี้ ยังคงมองว่าปัจจุบันเวียดนามเป็นเป้าหมายในการลงทุนที่สำคัญของนักลงทุนต่างชาติ และกำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นแหล่งการผลิตที่สำคัญของโลก จึงแนะนำ กองทุนเปิดเคแทม เวียดนาม อิควิตี้ ชนิดเพื่อการออม (KT-VIETNAM-SSF) (กองทุนระดับความเสี่ยง 6) และ กองทุนเปิดเคแทม เวียดนาม อิควิตี้ ชนิดเพื่อการเลี้ยงชีพ (KT-VIETNAM RMF) (กองทุนระดับความเสี่ยง 6) เน้นลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียน และ/หรือบริษัทที่ดําเนินธุรกิจ หรือมีรายได้หลัก และ/หรือที่ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากประเทศเวียดนาม โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV
ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการได้ที่ บลจ.กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 หรือธนาคารกรุงไทยและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) หรือศึกษารายละเอียดได้ที่ www.ktam.co.th สนใจเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชั่น KTAM Smart Trade ได้ที่ https://bit.ly/KTSTSignIn
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ : ความเสี่ยงทางตลาด ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนข้างต้น (ยกเว้นกองทุน RMF2, KT-HiDiv RMF, KTFIXPLUS-SSF และ KTESGS-SSF) มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/ หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุนรวม SSF / RMF และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม
.................................................................................