พื้นที่โฆษณา

?เศรษฐกิจดิจิทัล? กลไกใหม่ขับเคลื่อนการเติบโตของจีน

ข่าวการเงิน - Money News

แชร์หน้านี้

  • 15 พ.ย. 65
  • 11.7K
พื้นที่โฆษณา

ตลอดระยะเวลาสามปีของสถานการณ์โควิด เศรษฐกิจโลกเผชิญกับความไม่แน่นอนและความท้าทายมากขึ้น และต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ส่งผลให้เกิดวิวัฒนาการทางดิจิทัลอย่างรวดเร็ว และเศรษฐกิจดิจิทัลกำลังกลายเป็นกลไกใหม่ที่ขับเคลื่อนการฟื้นตัวและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

เอกสารโครงการความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล G20 (G20 Digital Economy Development and Cooperation Initiative) ที่เผยแพร่ในการประชุมสุดยอด G20 ณ เมืองหางโจว ประเทศจีน เมื่อปี 2559 ระบุว่า เศรษฐกิจดิจิทัลหมายถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่มีการใช้องค์ความรู้และข้อมูลดิจิทัลเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต มีเครือข่ายสารสนเทศที่ทันสมัยเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมที่สำคัญ และมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่มีประสิทธิภาพเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของผลิตภาพและการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของจีน (CAICT) เผยแพร่สมุดปกขาวเมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 ซึ่งระบุว่า ในปี 2564 มูลค่าเพิ่มของเศรษฐกิจดิจิทัลใน 47 ประเทศใหญ่ทั่วโลก อยู่ที่ 38.1 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 15.6% จากปีก่อนหน้า และคิดเป็นสัดส่วน 45% ของจีดีพีของประเทศเหล่านี้รวมกัน

ในบรรดาประเทศเหล่านี้ สมาชิก G20 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 85% ของจีดีพีโลก, 75% ของการค้าระหว่างประเทศ และ 60% ของประชากรโลก ถือเป็นผู้นำของโลกในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีเศรษฐกิจดิจิทัลมูลค่า 15.3 ล้านล้านดอลลาร์ รั้งอันดับหนึ่งของโลก จีนมาเป็นอันดับสองด้วยเศรษฐกิจดิจิทัลมูลค่า 7.1 ล้านล้านดอลลาร์ ตามมาด้วยสหภาพยุโรปในอันดับสาม ด้วยมูลค่า 6.3 ล้านล้านดอลลาร์

ในแง่ของสัดส่วนเศรษฐกิจดิจิทัลต่อจีดีพี ผลปรากฏว่าเยอรมนี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา รั้งสามอันดับแรก ด้วยสัดส่วนเกิน 65% ทุกประเทศ

ฉันทามติว่าด้วยเศรษฐกิจดิจิทัลของกลุ่ม G20

ในการประชุมสุดยอด G20 ณ เมืองหางโจว ประเทศจีน เมื่อปี 2559 จีนในฐานะประธานหมุนเวียนได้ชูเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นวาระสำคัญเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ จีนยังเป็นผู้นำในการจัดทำและเผยแพร่เอกสารโครงการความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล G20 ซึ่งเป็นเอกสารว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลฉบับแรกที่ได้รับการรับรองจากผู้นำ G20

เอกสารดังกล่าวได้นำเสนอแนวทาง 7 ประการสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ได้แก่ นวัตกรรม ความร่วมมือ การทำงานร่วมกัน ความยืดหยุ่น ความครอบคลุม สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปิดกว้างและเอื้ออำนวย รวมถึงการไหลของข้อมูลเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความไว้วางใจ และความมั่นคง

นอกจากนั้นยังมีการระบุประเด็นสำคัญ 6 ประการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ได้แก่ การขยายการเข้าถึงบรอดแบนด์และการปรับปรุงคุณภาพ การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมไอซีที การสนับสนุนความเป็นผู้ประกอบการและส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล การส่งเสริมความร่วมมือด้านอีคอมเมิร์ซ การยกระดับความเท่าเทียมทางดิจิทัล รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

เศรษฐกิจดิจิทัลของจีนกำลังเฟื่องฟู

สมุดปกขาวของสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของจีน ระบุว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของจีนมีมูลค่าแตะ 7.1 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2564 คิดเป็นสัดส่วน 39.8% ของจีดีพีของประเทศ

ในช่วงปี 2555-2564 อัตราการเติบโตเฉลี่ยของเศรษฐกิจดิจิทัลของจีนอยู่ที่ 15.9% และสัดส่วนของเศรษฐกิจดิจิทัลต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นจาก 21.6% เป็น 39.8%

สมุดปกขาวยังระบุด้วยว่า บทบาทของเศรษฐกิจดิจิทัลในฐานะตัวรักษาเสถียรภาพและตัวเร่งการเติบโตของเศรษฐกิจจีนโดยรวม มีความโดดเด่นมากขึ้น

ณ เดือนมิถุนายน 2565 จีนมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 1.05 พันล้านราย ก่อให้เกิดสังคมดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดและมีพลังมากที่สุดในโลก

นอกจากนี้ จีนได้สร้างเครือข่าย 5G ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีสถานีฐาน 5G มากถึง 1.97 ล้านสถานี ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม

ในขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลของจีนกำลังเฟื่องฟูและกลายเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ จีนยังเปิดโอกาสมากขึ้นให้บริษัทต่างชาติเข้ามาเติบโตในตลาดจีน และมีการสร้างความร่วมมือเชิงรุกกับประเทศสมาชิก G20 ในภาคส่วนนี้

ในเดือนมิถุนายน บริษัทซีเมนส์ (Siemens) จากเยอรมนี ได้จัดตั้งศูนย์ดิจิทัลเพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ (Smart Infrastructure Digitalization Enablement Center) แห่งแรกในประเทศจีน เพื่อสำรวจความร่วมมือกับบริษัทจีนในด้านโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ

ขณะเดียวกัน ไอบีเอ็ม (IBM) ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีจากสหรัฐอเมริกาผู้ให้บริการคลาวด์ ก็ได้ร่วมมือกับบริษัทจีนอย่างแข็งขันในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

นอกจากนี้ จีนกำลังทำงานร่วมกับบราซิลในการปกป้องระบบนิเวศป่าฝนแอมะซอนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

https://news.cgtn.com/news/2022-11-14/Digital-economy-turns-new-growth-engine-for-China-other-G20-members--1eWXYmrvcXe/index.html

พื้นที่โฆษณา
ชอบหน้านี้?

แสดงความคิดเห็น

พื้นที่โฆษณา
พื้นที่โฆษณา
เว็บไซต์ ตรวจหวย ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล LotteryThai.in.th ขอแสดงความยินดี กับท่านผู้โชคดีที่ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล (ตรวจหวย) ผ่านเว็บไซต์ของเราแล้วถูกรางวัล แต่หากท่านใดที่ไม่ถูกรางวัล อย่าได้เสียใจไป งวดหน้ายังมีโอกาสให้ลุ้นอีก ก็ถือว่าเป็นการช่วยเหลือสังคมในการพัฒนาทางด้านต่างๆ

ข้อมูลผลรางวัลบนเว็บไซต์ของเรานั้นมีความถูกต้อง แต่ความผิดพลาดก็อาจเกิดขึ้นได้ ภายใต้สภาพแวดล้อมของการให้บริการและการใช้งานผ่านระบบ Internet ดังนั้นเพื่อให้ผลการตรวจสอบที่ถูกต้องขอให้ท่านทำการตรวจสอบข้อมูลที่สมบูรณ์จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอีกครั้ง ตรวจหวย หรือ ดูเรียงเบอร์ (ใบตรวจหวย)

**เว็บไซต์แห่งนี้มีจุดประสงค์เพื่อการตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาลเท่านั้น มิได้มีการขายหรือจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเองแต่อย่างใด**